Home » » 6 เทรนด์การตลาดที่น่าจับตามอง

6 เทรนด์การตลาดที่น่าจับตามอง


กระแส หรือ เทรนด์ หลายๆอย่างเริ่มจากการก่อตัวของคลื่นลูกเล็กๆ หรือเรียกว่า “Microtrends”
แล้วจึงค่อยพัฒนา แผ่วงกว้าง ไปสู่ คลื่นที่ขนาดใหญ่
หลายๆสิ่งที่เพิ่งถือกำเนิดเป็นคลื่นลูกเล็กๆ ที่กำลังจะกลายเป็นคลื่นลูกใหญ่ๆในอนาคตอันใกล้
ลองมาจับตาดูกันว่า เทรนด์ของธุรกิจ และการตลาดในปี 2010 อะไร น่าจะเป็นคลื่นเทรนด์ลูกใหญ่ได้
Real-time Marketing “The Now Generation”
 
ในโลกยุคข่าวสารข้อมูลในปัจจุบัน สื่อที่เรียกกันว่า “Social Media” เริ่มเข้ามามีอิทธิพลกับชีวิต มากขึ้นในทุกๆวัน
ยิ่งผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งมีผู้ใช้สื่อ “Social Media” มากขึ้นเท่านั้น
จากปากต่อปาก เพื่อนชวนเพื่อน และสื่อเก่า (Traditional Media) พากันโหมโปรโมต “Social Media” กันมากขึ้น
“Social Media” จากเดิมที่เป็น Niche Marketing จะเพิ่มและสะสมความ “Mass” มากขึ้นเรื่อยๆ
กลายเป็น ตลาดผู้ใช้ ขนาดใหญ่ ที่นักการตลาดเริ่มมาจับตามอง
แนวคิดของ “Social Media” มากับคำว่า “Co-creation” หรือ “ร่วมคิด ร่วมสร้าง”
ทุกๆกิจกรรมภายใน “Social Media” เกิดมาจาก “การแบ่งปัน“ (Sharing) และ “การให้” (Contribution)
เมื่อมีคนในชุมชน “Social Media” เพิ่มขึ้นจำนวนมาก
กิจกรรมดังกล่าวย่อมหมุนเวียนมากขึ้น
เกิดการแลกเปลี่ยน สนทนา แลกความคิดเห็นในวงกว้าง ระหว่างผู้คนในสังคม “Social Media”
ทำให้มี “การไหลของกระแสข่าวสาร ข้อมูล” จำนวนมหาศาล และแปรเปลี่ยนไปอย่างรวจเร็ว
“Social Media” ก็คือ “People Conversation” นั่นเอง
ด้วยกระแสการเติบโตแบบก้าวกระโดดของมือถือ SmartPhone
รวมไปถึงออกแบบให้รองรับบริการออนไลน์ต่างๆ ที่เหมาะสมกับการใช้งานบนหน้าจอมือถือ
ทำให้ผู้บริโภค “เสพย์ติด“ บริการออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น “Social Networking” “Email” หรือ “Chat”
มือถือ SmartPhone จึงเป็นเสมือนอุปกรณ์ที่ใช้ “เล่น“ บริการเหล่านั้น
ที่ขาดไม่ได้และดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่เพราะ นั่นคือ “อินเตอร์เน็ต“ ที่ทำหน้าที่เป็น “access” ในการเข้าถึงบริการต่างๆ
และดูเหมือนว่า ความต้องการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนี้ จะสูงเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา
เพราะผู้ใช้ ต้องการเข้าถึงบริการต่างๆได้ตลอดเวลา และในทุกๆที่
“อินเตอร์เน็ต“ นั้น จึงต้องเป็นแบบ “always on” หรือ เชื่อมต่อตลอดเวลา
เพื่อไม่ให้พลาดข้อมูล ข่าวสาร หรือ การติดต่อ จากคนอื่น
ไม่ว่าจะเป็น “Push Email” ที่เมื่อมีการแจ้งเตือนข้อความอีเมล์ใหม่ๆที่เข้ามาใน Inbox
“Instant Messenger” ที่ช่วยให้สามารถคุยกับเพื่อนได้ตลอดเวลา
“Twitter” “Facebook” และ “Social Network” อื่นๆ เป็นบริการที่คนกลุ่มนี้ ต้องการใช้ตลอดเวลา เพื่อโต้ตอบทันที ที่กลุ่มเพื่อน เข้ามาสนทนาด้วย
“Instant” หรือ “ความทันใจ“ นี่เอง
เป็นความต้องการหลัก ของคนกลุ่มนี้
กลุ่มที่ เรียกว่า “Now Generation”
นักการตลาด เฝ้าสังเกตการณ์อยู่จากวงนอก เริ่มเข้ามาคลุกวงใน
ทุกคนอยากรู้ว่า “People Conversation” จะพูดถึงบริษัท แบรนด์ สินค้าและบริการของตน อย่างไรบ้าง
และที่สำคัญที่สุด
ตัวเอง จะมีปฏิกิริยา อย่างไร กับ “Now Generation” เหล่านั้น
ควรจะคุย เพิกเฉย จะตอบกลับเร็วหรือช้า?
นักการตลาด จะต้องเรียนรู้ที่จะนำแคมเปญสื่อสารการตลาดใหม่ๆมาใช้กับคนกลุ่มนี้
เพราะสามารถวัดผลได้แทบจะเรียกได้ว่า “ทันที“ และ “ทันใจ”
กลุ่มเป้าหมายจะสนใจ หรือ ไม่สนใจ รวมไปถึงปฏิกิริยา ที่ได้รับ ทั้งทางบวกและทางลบ
และต้องพร้อมรับมือ และเปลี่ยนแปลง แผนการตลาดตลอดเวลา
  1. เศรษฐกิจแอพลิเคชั่น (App Economy)
ในอดีต “Web 1.0″ มีนิยาม คือ เว็บที่มีการ “อ่าน“ เพียงอย่างเดียว โดยที่เจ้าของเว็บไซต์ เป็นผู้ที่จัดทำเนื้อหาขึ้นมา
จากนั้น แนวคิดก็วิวัฒน์ มาสู่ยุคที่ “ผู้อ่าน” สามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับเจ้าของเว็บ เป็นการ “ร่วมคิด ร่วมสร้าง“ เพื่อรังสรรค์เนื้อหา จากการนำความรู้ของแต่ละคน มาร่วมต่อยอดพัฒนาให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ในยุค “Web 2.0″ เราได้เห็นการเติบโตของเว็บไซต์ “Social Networking” อย่างก้าวกระโดด ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวนมหาศาล มีตัวตนอยู่ใน สังคมออนไลน์
 
กลายเป็น
อีกรูปแบบหนึ่งของการสื่อสาร ทดแทนอีเมล์แบบเดิมๆ เพราะผู้ใช้ สามารถส่งข้อความหากันได้
ความนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างสูงกับบริการ “Youtube.com” ที่ไม่ว่าใครๆ ก็นำ VDO ไปฝากไว้
แม้กระทั่ง VDO งานแต่งงานของตัวเอง ก็มีคนไทยไม่น้อย เอาไปโพสต์ลง “Youtube.com”
การสร้างชื่อเสียงของ “Susan Boyle” เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่บ่งบอกถึงความทรงพลังของ “Social Media” และความนิยมที่มีในตัว “Youtube.com”
คนส่วนใหญ่ ใช้ “Google” เป็นหน้าแรก และเป็นประตูเชื่อมต่อไปสู่โลก Cyber
รูปถ่ายมหาศาล ของแต่ละคน ถูกอัพโหลดไปเก็บไว้ในบริการฝากรูปชื่อ “Flickr”
เราสามารถค้นหาสถานที่ แผนที่ หรือ ให้ระบบ GPS นำทางในการขับรถ ได้ด้วยบริการ “Google Map” ที่อนุญาตให้ผู้ใช้ ทำการระบุพิกัด สถานที่ที่น่าสนใจเข้าไปได้เอง
และยังแชร์ให้ผู้ใช้คนอื่นๆทั่วโลกได้รับรู้อีกด้วย
ยุค “Web 2.0″ ได้เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตออนไลน์ของผู้คนในโลกอย่างสิ้นเชิง
ทั้งในแง่ของพฤติกรรมผู้บริโภค และ อุตสาหกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง
เรียกได้ว่า Web 2.0 ได้เข้ามา “เขย่า“ โลกจนสะท้าน สะเทือนไปทั่ว
หลายๆคนตั้งคำถามว่า แล้วยุคต่อไปของ Web คืออะไร?
ผู้เชี่ยวชาญด้านอินเตอร์เน็ต หลายคน เคยให้คำนิยามไว้ว่า “Web 3.0″ อาจจะเรียกว่าเป็น “Semantic Web”
หรือเว็บที่มีความฉลาด สามารถเชื่อมโยงเนื้อหาถึงกันเองได้หมด และเว็บไซต์ สามารถมีความสัมพันธ์ถึงกันได้เอง ผ่านข้อมูลที่เรียกว่า “metadata” จากเดิมที่เชื่อมโยงแค่ในมิติเดียว คือ “keyword”
กล่าวง่ายๆ คือ การ ใส่สมองและความคิด ให้กับตัวเว็บ แล้วเว็บนั้น จะไปเรียนรู้ ค้นหาและเชื่อมโยงกับสิ่งที่เกี่ยวข้องให้เอง
เว็บรถยนต์ ก็จะไปเชื่อมโยงกับเว็บศูนย์บริการซ่อม เว็บอุปกรณ์ตกแต่งรถ เว็บปั๊มน้ำมัน หรือแม้กระทั่งเว็บเครื่องเสียงติดรถยนต์
อาจจะถึงขั้นเรียนรู้ได้อีก รถยนต์ในความหมายของผู้ใช้แต่ละคน คืออะไร
ฉลาดขนาดนั้น…
แต่ “Semantic Web” ยังถือว่าเป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดใหม่ ยังพัฒนาได้ไม่ถึงขั้นที่จะออกมาสู่เว็บกระแสหลัก
“Web 3.0″ ที่เป็น “Semantic Web” อาจจะไกลไป
สิ่งที่ใกล้กว่า และกลายเป็นคลื่นลูกใหญ่และน่าจับตามองที่สุดในธุรกิจออนไลน์ขณะนี้
นั่นคือ “App Economy” หรือ เศรษฐกิจของ แอพลิเคชั่น
นั่นเอง
จุดเริ่มต้น มาจากการเปิด “Platform” ของ Facebook ใน ปี 2007
เพื่ออนุญาติให้นักพัฒนาแอพทั่วโลก เขียนแอพเข้ามาเสริมเขี้ยวเล็บให้ Facebook มากขึ้น
การตัดสินใจครั้งนั้น ถือเป็นจุดพลิกประวัติศาสตร์ของ Facebook เลยก็ว่าได้
เพราะในปัจจุบัน มีผู้พัฒนาแอพ กว่า 1 ล้านคน ใน 180 ประเทศ
มีแอพที่มีผู้ใช้ประจำกว่า 35,000ตัว และมีถึง 250 ตัว ที่มีผู้ใช้มากกว่า 1 ล้านคนต่อเดือน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกม “Farm Ville” หรือที่ผู้ใช้ Facebook ชาวไทย เรียกกันติดปากว่า “เกมปลูกผัก”
เกมนี้มีผู้ใช้ถึงวันละ 20 ล้านคน สร้างรายได้ระดับ ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ
ตัว Facebook เอง จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มีรูปแบบธุรกิจ การหารายได้ที่ชัดเจน ว่าจะหารายได้มาอย่างไร
แต่ที่แน่ๆผู้สร้างแอพ จำนวนไม่น้อย ที่สามารถหากินจากเครือข่ายที่ Facebook สร้างขึ้นมาได้แล้ว
ด้วยอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และ ต่อเนื่องของ Facebook ทำให้จำนวนผู้ใช้แอพนั้น อยู่ในอัตราเร่งเดียวกัน
ยอดผู้ใช้ Facebook พุ่งสูงทะลุหลัก 300 ล้าน โตถึง 220% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ส่วนประเทศไทย ติดอันดับ ประเทศที่มีอัตราการเติบโตของ Facebook สูงสุดอันดับต้นๆ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเมษายน
จนปัจจุบัน มีผู้ใช้ Facebook ในไทยแล้ว กว่า 1.6 ล้านคน

สิ่ง ที่นักการตลาด ต้องจับตามอง คือ การมอง แอพ เป็นสื่อ อีกสื่อหนึ่ง ที่จะช่วยสร้างสรรค์ กิจกรรมทางการตลาดออนไลน์ให้น่าสนใจ และมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
ถ้าเปรียบ Facebook เหมือนห้างสรรพสินค้า ที่ใหญ่และมีผู้คนเดินเข้าเดินออกมากมาย
เจ้าของห้างอนุญาติให้เราเข้าไปจัดกิจกรรมการตลาดข้างในห้างได้ เหมือนไปตั้งร้าน เช่าบูธในนั้น
เราจะเข้าไปสร้างกิจกรรมอะไร ให้ดึงดูดคน สร้าง Brand Awareness , Customer Engagement
กลายเป็นสื่อออนไลน์ทางเลือก นอกเหนือไปจาก Banner
แต่ที่ได้เปรียบกว่า น่าจะเป็นการเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ตรง และสามารถสร้าง Word-of-mouth ได้ อย่างที่หลายๆแอพบน Facebook ทำได้มาแล้ว ในเกมดังอย่าง “Friend for Sales” และ “Farm Ville”
การทำการตลาดออนไลน์บน Facebook ไม่ใช่แค่การสร้าง Fan Page และหาจำนวน Fan ให้ได้เยอะๆเท่านั้น
แอพ
เป็นทางเลือกที่ดีกว่า ได้ประสิทธิภาพสูงกว่า และมีโอกาสสร้างรายได้จากตัวแอพเอง
CEO Brand in Social Media
เมื่ออัตราเร่งของการเติบโตของ Social Media ทั่วโลก สามารถสร้างกระแสและผลกระทบต่อแวดวงธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆในวงกว้าง
หลายๆกระแสใน Social Media ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในโลก Offline
ทำให้หลายองค์กร ต้องกลับมาทบทวน และวางกลยุทธ์สื่อสารการตลาดใหม่ โดยการนำ Social Media เข้ามาอยู่ในแผนงานใหม่ด้วย
องค์กรไหนช้า องค์กรนั้น ตกเทรนด์
มีสิทธิ์โดนแบรนด์คู่แข่งโจมตี และถูกแย่งลูกค้าไปได้ง่ายๆ
แต่การทำตลาดบน Social Media ไม่ใช่เรื่องง่าย
ถ้ายังอาศัยกรอบแนวคิดแบบเดิม มีสิทธิ์เจ๊งได้ง่ายๆ
เพราะ Social Media คือ People Conversation
การที่จะสวมหมวกธุรกิจหรือแบรนด์ลงไปคลุกด้วย อาจจะถูกเพิกเฉย เนื่องจากไม่เข้ากลุ่ม
หนักที่สุดถือถูกต่อต้าน จากผู้คนในสังคมออนไลน์
การทำตัวกลมกลืน เป็นสิ่งที่สำคัญ
วิธีการแบบ “ตัวแทน“ เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในโลกของ Social Media
ตัวแทนที่ดีที่สุดที่จะกระโดดลง Social Media คือ CEO
ในระดับโลก มี CEO บริษัทยักษ์ใหญ่มากมายที่กระโดดเข้ามาใช้ Twitter
อาทิเช่น Richard Branson CEO ของ Virgin Group ,
Tony Hsieh CEO ของ Zappos.com หรือ Jonathan Schwartz แห่ง Sun Microsystem
หรือแม้แต่ CEO ในไทย อย่างคุณพาที สารสิน แห่ง นกแอร์ ก็ได้ลงมาจับ Twitter อย่างจริงจัง จนสร้างความสนิทคุ้นเคยกับเหล่า Follower ได้เป็นอย่างดี
เมื่อเปรียบเทียบ CEO กับการให้พนักงานของบริษัทนั้นๆเข้ามาใช้ Social Media ในการพูดคุย ติดต่อกับกลุ่มลูกค้า
Effect ของ CEO จะสูงกว่ามาก
เนื่องจาก สิ่งที่ลูกค้าสามารถรู้สึกได้ คือ “ความพิเศษ”
ความพิเศษ อาจจะเป็นความรู้สึกดี ที่เห็นว่าผู้บริหารมีความใส่ใจ และเอาใจใส่ในลูกค้า
การเข้ามาสร้างความเป็นกันเอง พูดคุยสนทนากับลูกค้า อย่าง “เพื่อน” คุยกับ “เพื่อน”
ย่อมสามารถสร้าง “ความไว้เนื้อเชื่อใจ” (Trustworthiness) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ในระบบ Social Media
เมื่อผู้บริหาร ระดับ CEO สามารถสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ให้เกิดขึ้นกับคนในสังคมออนไลน์ จนแปรเปลี่ยนไปเป็นระดับ “เพื่อน“ ได้
ย่อมส่งผลกระทบในแง่ดี กับภาพลักษณ์ของแบรนด์ รวมไปถึงระดับองค์กร
เพราะในแง่ความสัมพันธ์อย่าง “เพื่อน“ และตำแหน่งระดับผู้นำสูงสุดขององค์กร
ย่อมสามารถมีอิทธิพลในแง่ของการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีได้
CEO อาจจะพูดถึงวัฒนธรรมองค์ สื่อสารถึงแบรนด์ รวมไปถึงบุคคลิก ลักษณะขององค์กร
และแน่นอนว่า ถ้าเพื่อน ไม่ซื้อของ ของเพื่อน
แล้วใครล่ะจะซื้อ?
Freeconomics
หลังจากที่ Chris Anderson แห่ง “Lontail” ได้ออกหนังสือชื่อ “Free : The Future of Radical Price” ออกมา
ปรากฏ เรื่องของ “Free” ได้รับการกล่าวถึงในวงการธุรกิจมากมายในวงกว้าง
หลายๆองค์กรธุรกิจ ต่างทำการทดลอง Business Model ที่เหมาะสมกับองค์กร และลักษณะของการประกอบธุรกิจ โดยหยิบ “Free” ขึ้นมาใช้
ที่เห็นคึกคักกันมาก คือ ในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์
มีการออกนิตยสารที่แจกฟรีบนรถไฟฟ้า หรือแจกตามสถานที่ต่างๆ ที่คิดว่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้
เป็นการใช้ รูปแบบของ “Three Parties Market” หรือ การมีคนอื่นมาออกค่าใช้จ่ายให้
สำนักพิมพ์สามารถพิมพ์นิตยสารมาแจกลูกค้าได้ฟรีๆ ก็เพราะมี Sponsor มาลงโฆษณาในเล่ม
บางเล่มพิมพ์ครั้งละหลายพัน บางเล่มอาจจะพิมพ์กันถึงหมื่นเล่ม และแจกกันมาต่อเนื่องยาวนาน
ถ้าทำแล้วขาดทุน คงเลิกทำไปแล้ว…
เพราะนิตยสารเหล่านี้ พิมพ์ออกมาจำนวนเยอะ และมีวิธีการแจกจ่ายไปสู่กลุ่มเป้าหมาย ที่เป็นคนระดับ “ครีม”
ครีม สำหรับ Sponsor เหล่านั้น
ข้อเขียนบางชิ้น สามารถทำเป็นรูปแบบ Digital เตรียมพร้อมแจกจ่ายทางช่องทางออนไลน์
บทสัมภาษณ์แหล่งข่าว จากที่เคยอัดเป็นเสียง ก็เปลี่ยนเป็นอัดวิดีโอ
ใส่โฆษณาบางชิ้นลงไป ทั้งในไฟล์ข้อเขียนและในวิดีโอ
แจกจ่ายมันออกไป ให้เป็นวงกว้างที่สุด จากแฟนนิตยสารจำนวนหมื่น ส่งต่อถึงคนจำนวนแสน
รับรอง Sponsor ยิ้มแก้มปริ เผลอๆ เก็บค่าลงโฆษณาได้ ในอัตราที่สูงกว่าเดิม
ต้นทุนการทำ Digital รวมไปถึงการแจกจ่ายบน Internet เรียกได้ว่าเกือบเข้าใกล้ศูนย์
“Free” มีจริง และทำได้จริง ด้วยต้นทุนที่น้อยมาก
The New Influencer
สื่อสารการตลาดรูปแบบเดิม เป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์ โดยผ่าน “สื่อ”
ไม่ว่าจะเป็น สื่อ วิทยุ ทีวี หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ ป้ายโฆษณาต่างๆ
ใครมีงบเยอะซักหน่อย ก็สามารถซื้อ “การเข้าถึง“ กลุ่มเป้าหมายได้ มาก
เมื่อหลายธุรกิจ คิดแบบนี้ ทำให้เกิด โฆษณามากมาย ในสื่อที่เราทั้งหลายบริโภคกัน
เราอาจจะดูโฆษณาสินค้าคล้ายๆกัน ในสื่อสื่อเดียวกัน และเวลาใกล้ๆกัน หลายครั้งใน 1 วัน
ผู้บริโภค จำสินค้าของคนไหนได้มากกว่า คนนั้นชนะ …
นี่เป็นเกม ของคนมีเงิน อีกทั้งยังไม่ค่อยเหมาะ กับสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในปัจจุบัน
อีกทั้งผู้บริโภค มีกระบวนการในการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไป
จากเดิม คือ ดูโฆษณา เกี่ยวกับสินค้าที่ต้องการ และเลือกว่ามีแบรนด์ไหนบ้างที่น่าสนใจ
กลายเป็น ต้องการสินค้าแบบไหน ก็ไปถาม ไปดู ไปสำรวจ ว่าผู้คนในสังคมออนไลน์ เค้าใช้แบรนด์ไหนอยู่
จะซื้อ Notebook ซักเครื่อง หรือกล้องถ่ายรูปดิจิตัลซักอัน นั่งอ่านรีวิวกันที เป็นสิบเว็บไซต์
ผู้บริโภคปัจจุบัน เชื่อคำวิจารณ์ของคนอื่น มากกว่าโฆษณา ที่บริษัทต่างๆทำมา
นั่นคือ “People Conversation” มีอิทธิพล ต่อการซื้อสินค้า อย่างมาก
นอกจากการ “เชื่อ“ คำวิจารณ์ของคนอื่นมากขึ้นแล้ว ยังมีสิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการซื้อไม่แพ้กัน
นั่นคือ คำบอกเล่า ของเหล่า “ผู้ทรงอิทธิพล“ หรือ “Influencer”
ผู้ทรง อิทธิพลในที่นี้ ความถึงผู้ที่มีอิทธิพลทางด้านความคิด ต่อผู้อื่น สามารถชักนำ ชักชวนให้ผู้อื่นคล้อยตามได้ และมีคนจำนวนมากให้ความเคารพ เลื่อมใส
เรียกอีกนัยหนึ่งว่า เป็น “ผู้มีบารมีทางความคิด”
คนกลุ่มนี้ เมื่อแสดงความคิดเห็น ต่อสินค้า และบริการใดๆแล้ว มักส่งผลกระทบในวงกว้างต่อสินค้าและบริการตัวนั้น
เพราะจะมีการบอกต่อ จนเกิด “Word-of-mouth”
ถ้ากลุ่ม “ผู้มีบารมีทางความคิด“ เหล่านี้ พูดถึงสินค้าหรือแบรนด์ในแง่ดี ก็ถือว่าบริษัทโชคดี
แต่ถ้าพูดเหมือนกันหลายๆคน ในแง่ที่เป็นลบ
อาจจะส่งผลกระทบอย่างมากกับยอดขายสินค้าได้
ยิ่งในยุค “Social Media” แล้ว Influencer เหล่านี้ สามารถแสดงความคิดเห็นต่อสินค้าและบริการใดๆ ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว
และพร้อมที่จะมีคนบอกต่อๆกันไปอีก เป็นพัน เป็นหมื่น หรือเป็นแสน
Influencer เหล่านี้ จึงเป็นเป้าหมายในการทำตลาดของบรรดาบริษัทต่างๆ
เพราะต้องการสร้างอิทธิพลให้เกิดกับกลุ่มเป้าหมาย และสร้างการบอกต่อ (Viral Marketing)
Longtail People และ เผ่า (Tribe) บนโลก Social Network
“People” ในสังคมออนไลน์ อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “Longtail People”
เพราะสังคมออนไลน์มีโครงสร้างที่ประกอบไปด้วย คนที่หลากหลาย
ทั้งอายุ อาชีพ รสนิยม ความชอบ
ผู้คนทั้งหลาย เมื่อเข้ามาอยู่ในสังคมออนไลน์ ไม่นานก็จะต้องมีกลุ่ม อยู่ เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลพัฒนาขึ้นไป
เผ่า
หรือ “Tribe” เป็นสิ่งที่ใช้บ่งบอกตัวตนว่าตัวเอง ชื่นชอบ สนใจอะไรเป็นพิเศษ
และสอดคล้องกับความต้องการหลักของมนุษย์ คือ การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
เช่นเดียวกับการเกิดของ Twitter ในบ้านเรา
ระยะแรก มีคนเล่น ยังไม่มาก ความสัมพันธ์เป็นลักษณะการพูดคุยทั่วไป ใน Twitter
เมื่อพัฒนาไปซักระยะ มีคนจำนวนมากขึ้นเข้ามา เริ่มแสดงออกถึงความคิด ความเห็น ความสนใจที่คล้ายกัน
เริ่มมาจับกลุ่มรวมตัวกัน กลายเป็น “เผ่า“ เพื่อเคลื่อนไหน นัดหมาย ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน
ซึ่งโลกของ “Social Network” จะมีหลายๆเผ่าเป็นองค์ประกอบ
เปรียบเสมือนตลาด “Longtail” ที่จะมีคนเป็นกลุ่มเล็กๆ เต็มไปหมด
จากโลก ออนไลน์ เข้าสู่ Offline
การเกิดขึ้นของ “เผ่า” เป็นวิธีการที่น่าศึกษายิ่งสำหรับธุรกิจ
เพราะมันไม่ต่างอะไรกับ การสร้าง Brand Loyalty ให้เกิดขึ้น
จำนวนลูกค้าที่มี Loyalty ก็เทียบได้กับ จำนวนสมาชิกใน “เผ่า“
วิธีการสร้างเผ่าเป็นกรณีศึกษาสำหรับบริษัท ที่ต้องการเปลี่ยน Online Customer ให้เป็น Offline Customer
และในทางกลับกัน ก็สามารถเปลี่ยน Offline Customer ให้เป็น Online Customer ได้เช่นกัน



Jika Anda menyukai Artikel di blog ini, Silahkan klik disini untuk berlangganan gratis via email, dengan begitu Anda akan mendapat kiriman artikel setiap ada artikel yang terbit di Creating Website

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. marketing online - All Rights Reserved
Template Modify by Creating Website
Proudly powered by Blogger